การฟื้นฟูการจัดเก็บข้อมูลโรคติดเชื้อ ในฐานข้อมูลการติดเชื้อ

หน้าแรก Forums การจัดการเรียนรู้ พยาบาล การฟื้นฟูการจัดเก็บข้อมูลโรคติดเชื้อ ในฐานข้อมูลการติดเชื้อ

Viewing 1 post (of 1 total)
  • Author
    Posts
  • #330 Reply
    HRD SK Hospital
    Moderator

    -น.ส. นงนุช เคี่ยมการ
    -นางพรทิพย์ แสงสง่า
    -นางเพ็ญแข รัตนพันธ์

    ผู้จัด สคร.12 สงขลา 16-17 ธค. 2562 รร.ต้นอ้อย หาดใหญ่

    บทสรุป

    โรคที่แพร่กระจายทางอากาศ (Airborne Transmission Disease)
    1.Airborne Transmission ช่องทางการแพร่กระจายเชื้อผ่านทางอากาศ ถูกพัดไปได้ด้วยลม ,ลอยค้างในอากาศได้นาน เคลื่อนไกล เป็นเชื้อขนาดเล็ก ≤ 5 ไมครอน
    2.Droplet Transmission Disease ช่องทางการกระจายโรคผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่ เช่น เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ลักษณะเชื้อขนาดใหญ่มากกว่า 5 ไมครอน เคลื่อนที่ในอากาสระยะใกล้(<1เมตร)
    ประเภทของการแพร่โรค
    1.Obligate aerosol Transmission – เชื้อแพร่ผ่านฝอยขนาดเล็กเท่านั้น เช่น TB
    2.Preferential aerosol Transmission –แพร่ได้หลายช่องทาง เช่น Measles Ch.pox
    3.Opportunistic aerosol Transmission – ปกติไม่แพร่ในอากาศ แต่แพร่ในสภาวะพิเศษ เช่น กิจกรรมพยาบาลที่ทำให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็ก ทำให้เชื้อแพร่ได้ เช่น Influenza SAR
    ***การป้องกันการติดเชื้อใน รพ. ใช้หลักการ Standard Precaution และ Transmission based Precaution

    การควบคุมการติดเชื้อในอากาศ
    1. Administrative Control – การบริหารจัดการ และการจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานในโรงพยาบาล
    2. Environment Control – ระบบปรับอากาศ การระบายอากาศ โครงสร้าง ระบบสุขาภิบาล การทำให้ปราศจากเชื้อ ฯลฯ
    3. Respiratory Protection Control
    การดูแลผู้ป่วยในห้องแยกโรค
    1. ผู้ป่วย Admit ควรทำเป็น All Room (Negative Pressure with Anti-room) หากไม่มีควรใช้ห้องแยกโรคที่มีการระบายอากาศ ติดพัดลมดูดอากาศ และปล่อยอากาศเสียออกอย่างเหมาะสม
    2. การใช้ PPE (Personal Protective Equipment)

    ข้อเสนอแนะการพัฒนา
    1.จัดทำแผนตรวจสอบมาตรฐานห้องแยกโรคที่แพร่กระจายเชื้อทางอากาศ
    2.การซ้อมแผนรับโรคอุบัติใหม่ – อุบัติซ้ำ
    3. การซ้อมการใส่ และถอด PPE ให้บุคลากร

Viewing 1 post (of 1 total)
Reply To: การฟื้นฟูการจัดเก็บข้อมูลโรคติดเชื้อ ในฐานข้อมูลการติดเชื้อ
Your information: